top of page
Writer's pictureNott Panik Senariddhikrai

Basic Statistic series - EP.4 Correlation




มาย้อนความสถิติพื้นฐานกันสักหน่อยครับ ครั้งนี้มาในรูปแบบของ Series ใช้ชื่อว่า Basic Statistic series ซึ่งจะประกอบไปด้วย

  • EP.1 Independent Sample t-test

  • EP.2 One Way ANOVA

  • EP.3 Pearson Chi-square

  • EP.4 Pearson Correlation


ในบทความนี้คือ EP.4 เรื่อง Pearson Correlation



EP.4 เรื่อง Pearson Correlation


Correlation หรือเรียกแบบเต็มๆ ว่า Pearson Correlation ซึ่งก็คือนาย Pearson คนเดิม คนเดียวกับ Pearson Chi-square ครับ โดยที่เจ้า Correlation นั้นก็ทดสอบเรื่องความสัมพันธ์เช่นเดียวกันกับ Chi-square เพียงแต่เป็นระดับตัวแปรที่เป็นเชิงปริมาณหรือเป็นตัวเลข เช่น น้ำหนัก ส่วนสูง ค่าเฉลี่ยต่างๆ เป็นต้น



Pearson Correlation


Pearson Correlation เรียกว่าเป็นสถิติที่ทดสอบเรื่องความสัมพันธ์อีกด้านนึงของ Chi-square เนื่องจาก Chi-square ต้องเป็นตัวแปรที่เป็นตัวเลือกหรือช้อย ในขณะที่ Correlation เป็นตัวแปรแบบตัวเลข โดยที่


  • ตัวแปรอิสระ เป็นระดับ Interval หรือ Ratio

  • ตัวแปรตาม เป็นระดับ Interval หรือ Ratio


ตัวอย่างการลงข้อมูลดังภาพ


Pearson Correlation
Pearson Correlation

จากภาพจะเห็นว่าข้อมูลมี 2 ตัวแปรคือรายได้กับส่วนสูง โดยเรามีคำถามในใจว่า ส่วนสูงกับรายได้มีความสัมพันธ์กันหรือไม่ และทั้งคู่เป็นตัวแปรแบบตัวเลขทั้งหมด



---ย้ำกันหน่อยว่า Correlation ดูเรื่องความสัมพันธ์ ตัวแปรทั้งสองตัวที่นำมาทดสอบจะดูได้แค่ว่า มีความสัมพันธ์กันหรือไม่ แต่ไม่สามารถบอกได้ว่าตัวใดมีผล หรือ ส่งผลต่ออีกตัวได้ ถ้าจะดูเรื่องการส่งผล หรือทำนาย พยากรณ์ ต้องไปใช้ Regression ---



ในการทดสอบ Correlation นั้น ผลที่ออกมาจะแสดงเป็นตารางและนำเสนอค่า Pearson Correlation ให้เทียบเป็นคู่ๆ ไป โดยเวลานำเสนอในรายงานจะใช้สัญลักษณ์ r (อาร์ตัวเล็ก) และค่า Pearson ที่แสดงนั้น นับเป็นค่าน้ำหนักหรือขนาดของความสัมพันธ์ได้เลยทันที (Effect size)



มาดูวิธีการคลิกในรูปแบบของ [VDO] กันครับ




 

ร่วมติดตามได้ทุกช่องทาง

follow or subscribe in any channel


tel.086-555-5949

line: @SmartResearchThai

Blockdit: SmartResearchThai

Youtube: SmartResearchThai

Facebook: SmartResearchThai

Recent Posts

See All

Comments


bottom of page