Research Article วันนี้จะมากันในเรื่อง "การพัฒนารูปแบบความสามารถทางนวัตกรรมของธุรกิจสตาร์ทอัพในประเทศไทย" โดย ประสาน นันทเสน, 2565. [original source]
"สิ่งที่ชอบในบทความนี้ ไมใช่ประเด็นทางสถิติ แต่เป็นการทบทวนวรรณกรรม ที่ได้นำเสนอเป็นลำดับสอดคล้องไปกับสมมติฐานในแต่ละข้อ"
Research Article ของเรานั้นจะเป็น series ที่นำบทความวิจัยมานำเสนอ ยกประเด็นสำคัญที่อยากเล่าสู่กันฟัง โดยเฉพาะประเด็นที่เชื่อมโยงกับสถิติ
สามารถย้อนไปดูบทความเก่าใน series นี้ได้ มีดังนี้
โดยเรื่องล่าสุด เป็นการวิเคราะห์ Latent Moderator SEM ด้วยวิธี Multiple Group Analysis ซึ่งใช้การเปรียบเทียบค่า Chisqaure different (คลิกเพื่ออ่านเพิ่มเติมประเด็นนี้)
.
บทความของเราในวันนี้ นอกจากจะโฟกัสเรื่องสถิติแล้ว อยากจะเสริมเรื่องการนำเสนอบททบทวนวรรณกรรมสักหน่อยครับ
สถิติที่ใช้ในบทความนี้ คือ การวิเคราะห์สมการโครงสร้าง หรือ Structural Equation Modeling (SEM) โดยกรอบโมเดลดังนี้
จากกรอบจะเห็นว่ามีเส้นสมมติฐาน 8 เส้น ตั้งแต่ H1-H8 ซึ่งเป็นการทดสอบรายเส้นทาง
ถามว่าการกำหนดแบบนี้ แปลกมั้ย ไม่แปลกครับ ในแง่ของการตั้งสมมติฐานนั้น สามารถตั้งได้ใน 2 มุม
การตั้งสมมติฐานตามเส้นทาง (แบบที่งานนี้กำหนด)
การตั้งสมมติฐานรวม จะใช้ในกรณีของการทดสอบโมเดลที่ซับซ้อน ด้วยการเขียนเป็นข้อความที่กล่าวถึงการทดสอบโมเดล เช่น โมเดลผลการดำเนินงานของธุรกิจมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ซึ่งการเขียนในลักษณะนี้ จะไม่ได้กำหนดเส้นทาง และมีโอกาสที่ผลลัพธ์สุดท้ายหน้าตาของโมเดลอาจไม่ใช่อย่างที่เห็น หรืออาจเขียนในเชิงว่า โมเดลที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ซึ่งการเขียนในแบบที่ 2 นี้ จะมีข้อถกเถียงกันบางประการ คือ เมื่อไม่มีเส้นทางมากำหนดว่าจะต้องวิเคราะห์เส้นทางใดบ้าง ก็จะยากต่อการตอบสมมติฐาน หรืออาจมองว่า หากโมเดลไม่สอดคล้องกับข้อมูล แล้วจะสามารถยอมรับสมมติฐานได้หรือไม่ เป็นต้น
จากนั้น ผู้วิจัยได้นำเสนอผลของการวิเคราะห์สมการโครงสร้างด้วยรูป ดังนี้
จะเห็นว่าในส่วนของการนำเสนอกรอบนั้น ได้นำเสนอแบบที่ยังไม่มีตัวแปรสังเกต (สี่เหลี่ยม) ในขณะที่เมื่อนำเสนอผลจากการวิเคราะห์ ได้มีการนำเสนอแบบเต็มรูปแบบ ซึ่งโมเดลในลักษณะนี้ อยากขอเรียกว่า "Full SEM" เนื่องจากเป็นการบ่งบอกได้อย่างชัดเจนว่าโมเดลที่วิเคราะห์นี้ เป็นสมการโครงสร้างเต็มรูปแบบที่มีทั้งตัวแปรแฝง และตัวแปรสังเกต หรือไม่ หรือเป็นเพียงการวิเคราะห์เส้นทาง (Path Analysis) ที่ในโมเดลมีแต่สี่เหลี่ยม (ดูตัวอย่าง path analysis)
ซึ่งในบทความนี้ไม่ได้แจ้งว่าใช้โปรแกรมอะไรวิเคราะห์ ซึ่งส่วนตัวผมมองว่าก็ไม่ได้จำเป็นขนาดนั้นที่จะต้องแจ้ง แต่การแจ้งมีข้อดีคือทำให้ผู้อ่านได้เห็นว่าโปรแกรมมีความยาก ง่าย หรือมีคุณสมบัติพิเศษอื่นใด หรือไม่ เช่น หากเราทำการวิเคราะห์ PLS-SEM โดยใช้โปรแกรม SmartPLS ก็จะเป็นการชี้ทางได้อย่างชัดเจนขึ้นว่า การวิเคราะห์ PLS-SEM นั้นใช้โปรแกรม เพราะการวิเคราะห์แบบ PLS นั้น จะมีประเด็นการพิจารณาค่าต่างๆ แตกต่างจาก SEM ปกติเล็กน้อย (เรียก SEM ปกตินี้ ว่า CB-SEM) อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ SmartPLS และ CB-SEM
สำหรับรูปโมเดลนั้น อยากเสริมว่าไม่ได้จำเป็นจะต้องนำภาพจากโปรแกรมมานำเสนอเท่านั้น สามารถวาดขึ้นใหม่ได้ เช่นดังบทความตัวอย่างนี้ เพราะไม่ได้มีข้อบังคับใดๆ ยกเว้นแต่การตีพิมพ์ในบางวารสารต้องการให้ใช้ภาพจากโปรแกรมเท่านั้น เพราะเราสามารถนำภาพจากโปรแกรมไปนำเสนอใน ภาคผนวกได้
.
ประเด็นถัดมา ในทางสถิติควรนำเสนอตารางค่าอิทธิพลหรือค่าสัมประสิทธิ์
ตัวอย่างการนำเสนอตาราง มีดังนี้
จากตารางตัวอย่าง จะเห็นได้ว่ามีการนำเสนอค่า DE IE TE ซึ่งก็คือ
Direct Effect ค่าอิทธิพลทางตรง
Indirect Effect ค่าอิทธิพลทางอ้อม
Total Effect ค่าอิทธิพลโดยรวม
หากมีคำถามว่า อะไรคือทางตรง ทางอ้อม โดยรวม อธิบายเบื้องต้นดังนี้ว่า
อิทธิพลทางตรง คือ ค่าสัมประสิทธิ์ที่เกิดขึ้นในแต่ละเส้นทาง ลองย้อนกลับไปดูที่ตัวเลขในตาราง ค่า DE จาก นโยบายไปหา ความเป็นผู้ประกอบการ มีค่า 0.38 และย้อนไปดูที่รูปผลโมเดลก็จะเห็นว่าในตัวแปรนั้นได้มีค่าบนเส้น 0.38 เหมือนกัน นี่เรียกว่า ค่าอิทธิพลทางตรง หรือ Direct Effect (DE)
อิทธิพลทางอ้อม คือ การดูว่าจากตัวแปรแรก ไปยังตัวแปรที่สาม หรือตัวแปรสุดท้ายนั้น ผ่านตัวแปรอะไรบ้าง และมีค่าทางอ้อมเท่าไร ลองดูตัวเลขในตารางจากตัวแปร ความเป็นผู้ประกอบ ทางอ้อม (IE) ไปหาผลการดำเนินงาน มีค่าทางอ้อมเท่ากับ 0.11 ซึ่งมาจากเส้นทางตรง (นโยบาย > ความสามารถ) 0.23 * เส้นทางตรง (ความสามารถ > ผลการดำเนินงาน) 0.57 ซึ่งเมื่อคูณกันแล้วจะได้ 0.1311 ใกล้เคียงกัน (ตรงนี้ถ้ามีการนำเสนอค่าดิบจากโปรแกรมก็จะดีมาก แต่ด้วยข้อจำกัดของวารสารจึงไม่มี แต่ถือว่าใกล้เคียง)
อิทธิพลโดยรวม เป็นการนำค่าทางตรงกับทางอ้อมมารวมกัน (จุดนี้ในบทความ มีความคลาดเคลื่อนเล็กน้อย โดยหากดูจากตาราง สังเกตที่เส้นทางจาก ความเป็นผู้ประกอบการ ไปยัง ผลการดำเนินงาน จะเห็นว่าค่า DE คือ 0.41 ค่า IE คือ 0.11 แต่กลับมีค่า TE คือ 0.41 ซึ่งควรเป็น 0.52 ตรงนี้อาจเป็นความผิดพลาดด้านการตีพิมพ์ก็เป็นได้
อีกประเด็นสำคัญที่อยากนำเสนอ คือ การทบทวนวรรณกรรม
หากสังเกตในหัวข้อการทบทวนวรรณกรรม จะพบว่า ผู้วิจัยได้ทำการนำเสนอแนวคิด ทฤษฎีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับตัวแปรที่ใช้ในงานวิจัย ไล่เรียงเป็นลำดับ และนำไปสู่ข้อสมมติฐานในแต่ละข้อ ว่ามีที่มามาจากประเด็นใด ตรงนี้ เป็นเรื่องที่ดีมาก ที่นำเสนอเช่นนี้ เพราะจะทำให้ผู้อ่านได้เข้าใจในความหมายของแต่ละตัวแปร และยังสามารถตามกลับไปอ่านเพิ่มเติมได้ รวมถึงการขมวดปมเพื่อนำไปสู่การทดสอบสมมติฐานต่อไป
โดยสรุป
งานวิจัยชิ้นนี้ได้นำเสนอลำดับการทบทวนวรรณกรรมที่ดี เป็นระบบ เพื่อขมวดปมไปสู่การทดสอบสมมติฐาน ซึ่งง่ายต่อการวิเคราะห์ โดยใช้การวิเคราะห์สมการโครงสร้าง หรือ SEM ได้นำเสนอตารางทางตรง ทางอ้อม และรูปโมเดลที่แสดงค่าน้ำหนักในแต่ละองค์ประกอบ รวมถึงค่าอิทธิพลหรือสัมประสิทธิ์ในแต่ละเส้นทาง
จุดตกหล่นสำหรับบทความนี้ คือ การตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้าง (convergent validity) ซึ่งใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) นำเสนอค่าน้ำหนักองค์ประกอบโดยรวม นำเสนอค่าความเชื่อมั่นองค์ประกอบ (composite reliability : CR) และค่าเฉลี่ยความแปรปรวนที่สกัดได้ (average varaince extraction : AVE) และตารางความตรงเชิงจำแนก (discriminant validity) (อ่านเพิ่มเติมประเด็นนี้)
ต้องการเรียนสถิติ อยากปรึกษาสถิติทั้งเรื่อง Factor Analysis, CFA, SEM หรือเรื่องอื่นๆ สามารถติดต่อสอบถามเข้ามาได้เลย
.
'นึกถึงสถิติ นึกถึงเรา Smart Research Thai'
ร่วมติดตามได้ทุกช่องทาง
follow or subscribe in any channel
.
tel.086-555-5949
line: @SmartResearchThai
Blockdit: SmartResearchThai
Youtube: SmartResearchThai
Facebook: SmartResearchThai
Comments