top of page
Writer's pictureNott Panik Senariddhikrai

Variable Level

Updated: Feb 19, 2023

Variable Level หรือระดับตัวแปร ที่เรารู้จักกันมี 4 ระดับ ได้แก่ Nominal Ordinal Interval Ratio มาดูกันว่า แต่ละคืออะไร ยังไงบ้าง

บทความนี้จะกล่าวถึง Variable Level หรือระดับตัวแปร


เชื่อว่าคนที่เรียนวิจัยมาทุกคนต้องคุ้นกับระดับตัวแปรอย่างแน่นอน ซึ่งก็มีอยู่ 4 ระดับ ได้แก่ Nominal Ordinal Inter Ration ในบทความนี้จะอธิบายว่าทั้ง 4 ระดับนั้น มีความหมายอย่างไร ลองดูจากภาพสรุปนี้ก่อนครับ



variable level ระดับตัวแปร
variable level ระดับตัวแปร

ภาพสรุปนี้ ถือว่า ชัดและเข้าใจง่ายมาก เราเริ่มกันตั้งแต่ตัวแรกก่อนเลย


  1. Nominal คือตัวแปรที่มีลักษณะเป็นช้อย โดยที่แต่ละช้อยนั้นไม่ได้เป็นการเรียงลำดับ เช่น เพศชาย เพศหญิง โสด สมรส หย่าร้าง หรืออาชีพต่าง หรือคณะ มหาวิทยาลัย เหล่านี้ล้วนอยู่ในหมวดของ Nominal

  2. Ordinal จะมีความคล้ายกับ Nominal แต่ แต่ละช้อยนั้นจะมีการเรียงลำดับกัน เช่น กลุ่มอายุ กลุ่มรายได้ ระดับชั้น ให้ลองนึกภาพเวลาตอบแบบสอบถามที่ถามช่วงอายุ แล้วเราต้องเลือกตอบว่าเราอยู่ในช่วงไหน แต่ถ้าเป็นการตอบอายุ ที่เป็นเติบตอบ หรือรายได้ที่เป็นการตอบตอบ แบบนี้จะอยู่ในอีกระดับนึง

  3. Interval จะมีลักษณะที่เป็นตัวเลข หากข้อมูลเป็นตัวเลขที่บวก ลบ คูณ หารได้ จะอยู่ในระดับ interval ขึ้น ซึ่งมีความคล้ายกับ Ratio แต่ Interval นั้นในหนังสือมักอธิบายว่า "ไม่มี 0 แท้" คำว่าไม่มีศูนย์แท้ ก็คือ ตัวเลขว่า "0" ที่เราเห็นนั้น มันไม่ได้แปลว่า "ไม่มี" แต่มันแค่มีค่าเป็น 0 เท่านั้น เช่น องศา ถ้าระบุที่ 0 องศาเซลเซียส จะพบว่าเท่ากับ 37 องศาฟาเรนไฮน์ ดังนั้น 0 ในเซลเซียสจึงไม่ได้แปลว่า ไม่มี

  4. Ratio จะมีความหมายที่ใกล้เคียงกับ Interval ดังที่กล่าวไป แต่ความต่างคือ มี "0" แท้ได้ เช่น รายได้ 0 บาท แปลว่า ไม่มีสักบาท อายุ 0 ขวบคือเพิ่งเกิด **แต่กลายเป็นว่าความแตกต่างระหว่าง Interval กับ Ratio นั้นค่อนข้างแยกกันได้ยากมาก หากนำไปถามเป็นข้อสอบเชื่อว่ายากแน่นอน เช่น แล้วค่าเฉลี่ยล่ะ หรือส่วนสูงล่ะ หรือน้ำหนักล่ะ ดังนั้น เวลาการนำไปใช้จริง หากสังเกตในโปรแกรมอย่างเช่นใน SPSS จะไม่มี Interval หรือ Ration แต่จะเป็น scale แทน ให้รู้ว่า ตัวแปรนี้คือตัวเลขนะ ที่สามารถบวก ลบ คูณ หาร ได้ ไม่ใช่ตัวแปรที่เป็นช้อย** ***ดังนั้น จึงเกิดแนวคิดขึ้นมาว่า งั้นสรุป จัดกลุ่มให้ง่ายขึ้นได้หรือไม่ จึงได้เป็นว่า แยกระดับ Nominal กับ Ordinal ให้เป็น กลุ่มหรือเชิงคุณภาพ หรือ Category ส่วน Interval Ratio ให้เป็นเชิงปริมาณ หรือ Continuous***


 

โดยสรุป


แม้ว่าเราจะแบ่งกลุ่มให้ง่ายต่อการเข้าใจ แต่ในบางสถิติก็อาจจำเป็นต้องระบุด้วยว่าตัวแปรชนิดนี้คืออะไร โดยมีข้อสังเกตดังนี้

  • Interval กับ Ratio นั้นมักไม่มีปัญหาเพราะถูกรวบเป็น scale ไปแล้ว (ในโปรแกรม SPSS) ซึ่งเราขอเรียกว่า Continuous

  • ในขณะที่ Nominal กับ Ordinal ในบางสถิติต้องทำการระบุด้วย เช่น หากเราทดสอบ Ordered หรือ Ordinal Regression ตัวแปรที่เรากำกับว่านี่คือตัวแปรตามนะ ต้องกำกับให้ตรงกันว่าเป็น Ordinal ไม่งั้นจะไม่สามารถคำนวณต่อได้ เป็นต้น


 

สนใจเรียนสถิติ การใช้โปรแกรม ติดต่อสอบถามได้ในทุกช่องทาง


ร่วมติดตามได้ทุกช่องทาง

follow or subscribe in any channel


tel.086-555-5949

line: @SmartResearchThai

Blockdit: SmartResearchThai

Youtube: SmartResearchThai

Facebook: SmartResearchThai


 





Recent Posts

See All

コメント


bottom of page